วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Humam Evolution

                                          วิวัฒนาการของมนุษย์
                                            Human Evolution
                  
                        คำว่า วิวัฒนาการ ในภาษาอังกฤษคือ Evolution ในความหมายทั่วไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับโดยอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง

             วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปร ผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก

            
ก่อนที่จะมาศึกษามนุษย์ในปัจจุบัน หรือวิเคราะห์ว่าร่างกายมนุษย์จะมีขีดความสามารถ หรือพัฒนาไปถึงไหน จะต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์และบรรพบุรุษของเรา

            ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) คือคนแรกที่ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับความคิดที่ว่ามนุษย์มีความคล้ายคลึงกับ ลิงใหญ่คือ On the Origin of Species ในปี ค.ศ. 1859 และหนังสือเล่มถัดมาของเขา Descent of Man ถัดมาได้เป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่เป็นที่ยอมรับจนถึงทุกวันนี้

             วิวัฒนาการของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา ที่เด่นชัดก็คือ มานุษยวิทยากายภาพ (physical anthropology) และพันธุศาสตร์ (genetics) นักชีววิทยาได้จัดให้มนุษย์อยู่ในหมู่อาณาจักรของ Animalia หมายถึงสัตว์ คือสิ่งมีชีวิตมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้


                             บรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันมีรูปร่างคล้ายๆ หรือเหมือนกัน เรียกโดยรวมว่าไพรเมต (Primates) ซึ่งมีชีวิตอยู่ช่วงยุค Cretaceous คือยุคท้ายๆ ของไดโนเสาร์เมื่อ 60 ล้านปีมาแล้วไพรเมต เก่าแก่ที่สุดมาจากบริเวณทวีปแอฟริกา และเมื่อประมาณ 17 ล้านปีก่อน ได้แพร่กระจายไป ยุโรป เอเชีย และ อเมริกาเหนือ บรรพบุรุษของเราคือ โปรคอนซูล (Proconsul) เป็นลิงไม่มีหาง อาศัยอยู่ในบริเวณทวีปแอฟริกาตะวันออก เมื่อประมาณ 20 ล้านปีมาแล้ว

             
เมื่อ 4 ล้านปีก่อน พื้นที่ที่เคยเป็นป่าได้กลายเป็นพื้นที่ทุ่งมากขึ้น ลิงซึ่งชินกับการอยู่เฉพาะบนต้นไม้ ได้ปรับตัวมาอยู่บนพื้นดินมากขึ้น กลายเป็นลิงไม่มีหาง ได้วิวัฒนาการมาเป็นสปีชี่ส์ Australopithecus afarensis ซึ่งสามารถใช้ชีวิตบนพื้นดิน สามารถเดินสองขาและเดินสี่ขาได้ ต่างจากลิงชนิดอื่นที่ไม่สามารถเดินสองขาได้ สาเหตุของการปรับตัวให้เดินสองขาได้นั้นเป็นเพราะการเดินสองขานั้นสามารถยืด ตัวให้สูงขึ้น สามารถมองเห็นพื้นที่ทุ่งได้ไกลมากขึ้น


             
เมื่อ 3 ล้านปีก่อน ตั้งแต่ Australopithecus afarensis ลงมาจากต้นไม้ ก็ได้มีโอกาสในการเดินทาง ค้นพบพื้นที่ใหม่ ๆ และตั้งถิ่นฐานใหม่ ๆ ขึ้นทั่วทวีปแอฟริกา พละกำลังในการดำรงชีวิตได้ไช้มากขึ้น ร่างกายจึงได้แข็งแกร่ง มีขนาดลำตัวที่ใหญ่ขึ้น และพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์ใหม่ คือ Paranthropus boisei มีน้ำหนักประมาณ 68 กิโลกรัม และสวนสูงประมาณ 130 เซนติเมตร แต่ยังไม่ได้ฉลาดขึ้น ยังไม่สามารถจะเรียกว่ามนุษย์ได้

             วิวัฒนาการของมนุษย์ กล่าวถึง มนุษย์ดึกดำบรรพ์ ประเภทต่างๆ ซึ่งมีวิวัฒนาการ ตามกาลเวลา มาโดยลำดับ จนกระทั่งปรากฎ เป็นมนุษย์ปัจจุบัน 


                 การศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ หลักฐานส่วนใหญ่ ได้มาจาก การขุดพบ ซากดึกดำบรรพ์ หรือซากฟอสซิล ของมนุษย์โบราณ และ เครื่องมือ ต่างๆ ที่มนุษย์โบราณ ประดิษฐ์ขึ้น แล้วนำมา วิเคราะห์ลักษณะ ตรวจหาอายุ ของซากฟอสซิล ทำให้ทราบได้ว่า ในช่วงเวลาต่างๆ ในอดีต โลกของเรา เคยเป็นที่อาศัยของ มนุษย์ ในรูปแบบใด ในสิ่งแวดล้อมแบบใด มีวิถีชีวิต และ อารยธรรม แบบใด


             เมื่อศึกษาซากฟอสซิล ของมนุษย์โบราณ จากแต่ละช่วงเวลา พบว่า รูปแบบของมนุษย์ปัจจุบัน เพิ่งจะ ปรากฎ บนโลก ประมาณเมื่อ หนึ่งแสน กว่าปีมานี้เอง ช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ฟอสซิล ของมนุษย์โบราณที่พบ มีลักษณะแตกต่าง ไปจากมนุษย์ปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า โลกเคยเป็นที่อาศัย ของมนุษย์ หลายชนิด ในแต่ละช่วงเวลา วิวัฒนาการมาโดยลำดับ หลายชนิด สูญพันธุ์ไป คงเหลืออยู่เพียง สปีชีส์ เดียว คือโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sepiens) หรือมนุษย์ปัจจุบัน




วัฒนาการของมนุษย์
Species Genus Family

Species - สปีชีส์หรือชนิดของมนุษย์

             ในปัจจุบัน มีมนุษย์คงเหลืออยู่เพียงชนิดเดียว หรือเพียงสปีชีส์ (species) เดียวคือ โฮโม เซเปียนส์ (Homo sapiens) สปีชีส์ (Species) เป็นหน่วยพื้นฐาน ที่ใช้จัดหมวดหมู่ ของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยประชากร ที่มีความสัมพันธ์กัน อย่างใกล้ชิดทางบรรพบุรุษ ไว้เป็นสปีชีส์เดียวกัน (ที่จริงต้อง รวมความสามารถ ในการเจริญพันธุ์ในกลุ่ม ไว้ด้วย แต่คงยาก ที่จะศึกษา จากซากฟอสซิล)

             กลุ่มของหลายสปีชีส์ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน และมีความสัมพันธ์กัน รวมเรียกว่า สกุล หรือ จีนัส (Genus)
หลายๆจีนัส ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า วงศ์ (Family)
หลายๆวงศ์ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า ลำดับ (Order)
หลายๆลำดับ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า ชั้น (Class)
หลายๆชั้น ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า ไฟลัม (Phylum)
หลายๆไฟลัม ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน รวมกันเรียกว่า อาณาจักร (Kingdom)



มนุษย์ปัจจุบัน
Modern Huma

ลิงกอริลล่า
Gorilla

ลิงชิมแปนซี
Chimpanzee
สปีชีส์ (Species)
Homo sapiens
Gorilla gorilla
Pan troglodytes
สกุล (Genus)
Homo
Gorilla
Pan
วงศ์ (Family)
Hominids
Pongids
Pongids
ลำดับ (Order)
Primates
Primates
Primates
ชั้น (Class)
Mammalia
Mammalia
Mammalia
ไฟลัม (Phylum)
Chordata
Chordata
Chordata
อาณาจักร (Kingdom)
Animalia
Animalia
Animalia


             การที่เราต้องแบ่งสิ่งมีชีวิต ออกเป็นกลุ่มๆแบบนี้ ก็เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ป้องกันความสับสน เช่น เมื่อเรากล่าวถึง สปีชีส์ โฮโม เซเปียนส์ ก็จะเข้าใจตรงกันว่า หมายถึง มนุษย์ปัจจุบัน (Modern Human)  เมื่อเรากล่าวถึง ลักษณะซากฟอสซิล ของสิ่งมีชีวิต ในจีนัส โฮโม (Homo) ผู้ศึกษาก็จะเข้าใจเหมือนกันว่า คือ การศึกษา ลักษณะซากฟอสซิล ทุกสปีชีส์ ของสิ่งมีชีวิต ในจีนัสโฮโม (Homo)  เมื่อเรากล่าวถึง การศึกษาโฮมินิดส์ (Hominids) ผู้ศึกษาก็จะเข้าใจเหมือนกันว่า คือ การศึกษา สิ่งมีชีวิต ในวงศ์ โฮมินิดส์ (Hominids) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิต ที่อยู่ในสายวิวัฒนาการ จากลิงใหญ่ (Ape) มาเป็นมนุษย์ ที่สามารถเดิน 2 ขา ได้โดยไม่ต้องใช้มือช่วยพยุง ประกอบด้วย 3 จีนัส คือ จีนัส โฮโม (Homo) , จีนัส ออสตราโลพิเธคคัส (Australophithecus) และ จีนัส อาร์ดิพิเธคัส (Ardipithecus)

             มนุษย์ในปัจจุบัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือเป็นชนิด หรือสปีชีส์ โฮโม เซเปียนส์ อยู่ในจีนัส โฮโม (Homo) ในวงศ์ โฮมินิดส์ (Hominids) ปัจจุบันสิ่งมีชีวิตในวงศ์โฮมินิดส์ คงเหลืออยู่เพียงสปีชีส์เดียวคือ โฮโม เซเปียนส์ หรือมนุษย์เราในปัจจุบัน สปีชีส์อื่นสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ได้แก่ พวกมนุษย์โบราณ ที่กลายมาเป็นซากฟอสซิล ให้พวกเราได้ศึกษา นั่นเอง

             การแบ่งสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่ และ การเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบนี้ เพิ่งเริ่มนำมาใช้เมื่อ 200 กว่าปีมานี้เอง โดยนักวิทยาศาสตร์ ชาวสวีเดน ชื่อ คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus : 1707-1778)
             ในปัจจุบัน การแบ่งสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่แบบนี้ นอกจากสิ่งมีชีวิต ในหมวดหมู่เดียวกัน จะมีความ ใกล้เคียงกัน ในรูปร่างลักษณะแล้ว ยังมีความ ใกล้เคียงกัน ในแบบแผนการเจริญเติบโต องค์ประกอบทางชีวเคมี สรีรวิทยา ของร่างกาย และสายการวิวัฒนาการอีกด้วย



วิวัฒนาการของมนุษย์
Hominids-
โฮมินิดส์

มนุษย์โบราณ และบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน 

         
             มนุษย์มีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลง รูปร่างลักษณะ มาตลอด 5 ล้านปีที่ผ่านมา สังเกตได้จาก ซากฟอสซิล ของมนุษย์โบราณ ที่ขุดพบ จะมีหลายลักษณะ ที่แตกต่างกัน จนสามารถแบ่ง ได้เป็นหลายสปีชีส์

            
สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงกันมานาน คือ สิ่งมีชีวิต ในรูปแบบใดบ้างที่เรา จะเรียกได้ว่า เป็นมนุษย์ (ในภาษาอังกฤษ ใช้ว่า Human , Humanity) นอกเหนือไปจาก มนุษย์ปัจจุบัน (Modern Human) ที่มีชื่อ สปีชีส์ ว่า โฮโม เซเปียนส์ (Homo sapeins)
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์อื่นๆ ที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ หรือมีวิวัฒนาการ มาจากบรรพบุรุษของมนุษย์ บางสปีชีส์ มีภูมิปัญญา สามารถประดิษฐ์ เครื่องมือง่ายๆจากหินได้ เดิน 2 ขาได้ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ มีสปีชีส์ใดบ้าง ที่ควรเรียกว่า เป็น มนุษย์

            
เราคงต้องมาพิจารณากัน ถึงสายวิวัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มแยกวิวัฒนาการมาจากลิงใหญ่(Ape)
สมมติฐาน ที่เชื่อถือกันมากที่สุด เกี่ยวกับขั้นแรก ของวิวัฒนาการ มาเป็นมนุษย์ คือ เริ่มจากการเดิน 2 ขา และ การใช้เครื่องมือ ในการหาอาหาร
            
หลังจากนั้นจึงมี การเปลี่ยนแปลง อาหารการกิน เริ่มทำเครื่องมือซับซ้อนมากขึ้น สมองเริ่มพัฒนา และใหญ่ขึ้น

    
เริ่มก้าวเดินด้วย 2 ขา (Bipedalism)
          

             เมื่อประมาณ 5-7 ล้านปีก่อน เริ่มมีการแยกสายวิวัฒนาการของมนุษย์ ออกจากลิงใหญ่ (Ape) ฟากหนึ่งกลายไปเป็น ลิงใหญ่จำพวก กอริลล่า และ ชิมแปนซี ซึ่งเดิน 2 ขาได้บ้าง แต่ก็เพียงช่วงสั้นๆ และโยกเยกซ้ายขวา (knuckle walking) ใช้มือช่วยพยุง ไม่ใช่เดินอย่างมนุษย์
         

             อีกฟากหนึ่งของวิวัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ของร่างกายหลายอย่าง เช่น บริเวณ ฐานกระโหลก กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และขา ทำให้สามารถเดิน 2 ขาได้ อย่างมนุษย์

            
ความสามารถในการเดิน 2 ขาอย่างมนุษย์ เพิ่งเริ่มปรากฎ เมื่อประมาณ 4 ล้านกว่าปีก่อน มีหลักฐานจาก รอยเท้าอายุ 3 ล้าน 6 แสนปี บนหินภูเขาไฟ ในทวีปแอฟริกา และฟอสซิลกระดูก อายุประมาณ 4 ล้านปีของสิ่งมีชีวิต ในจีนัส ออสตราโลพิเธคคัส (Australophithecus) แต่ลิงใหญ่ สมองเล็กๆ ที่เดิน 2 ขา เหล่านี้คงต้อง วิวัฒนาการอีกยาวไกล กว่าจะถึงระดับ ที่เราเรียกได้ว่า เป็นมนุษย์

            
พวกจีนัส ออสตราโลพิเธคคัส แยกสายวิวัฒนาการ ไปอีกเป็น 2 ฟาก ฟากหนึ่งร่างกายแข็งแรง (Robust) มีฟัน กราม และกล้ามเนื้อในการบดเคี้ยว ที่แข็งแรงมาก คาดว่าคงกินอาหารประเภท พืชผัก เมล็ดพืช รากไม้ เป็นหลัก กลุ่มนี้ดำรงชีวิตอยู่ประมาณ 1 ล้านปีครึ่ง ก็สูญพันธุ์ไป
            

             อีกฟากหนึ่งยังคงมีร่างกายที่บอบบาง(Gracile) คาดว่ามีอาหารการกิน ที่ต่างออกไป มีการขุดพบเครื่องมือง่ายๆ ทำจากหิน และกระดูกสัตว์ที่ถูกทุบ ใกล้กับซากฟอสซิลของ ออสตราโลพิเธคคัส คาดว่า บรรพบุรุษ ของมนุษย์ เริ่มกินเนื้อในระยะนี้ คงเริ่มจากการกินซาก ที่สัตว์อื่น กินเหลือไว้(scavenge) เครื่องมือหิน ทำให้สามารถ ทุบกินไขกระดูก ที่สัตว์อื่นกินไม่ได้ เนื้อและไขกระดูกเป็นอาหาร ที่ช่วยให้สมอง มีพัฒนาการ และใหญ่ขึ้น ร่างกายใหญ่ขึ้น มีสติปัญญา ประดิษฐ์ เครื่องมือที่ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ ในจีนัส โฮโม (Homo)


วิวัฒนาการของมนุษย์
ก้าวแรกของวิวัฒนาการ
ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส (Australopithecus anamensis)



                 
ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส(Australopithcus anamensis) มีชีวิตอยู่ เมื่อประมาณ 3.9-4.2 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะทั่วไป ยังคงคล้าย ลิงชิมแปนซี แต่มีคางและเขี้ยวที่เล็กกว่า ส่วนแขนมีลักษณะ คล้ายมนุษย์มากขึ้น ที่สำคัญ กระดูกขาที่พบ บอกเราว่า ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส เดิน 2 ขา ได้เหมือนมนุษย์ นับเป็นหลักฐาน ที่เก่าที่สุด ของการเดิน 2 ขา (bipedalism) ของโฮมินิดส์ และการที่ ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส มีลักษณะที่คล้าย บรรพบุรุษของมนุษย์ สปีชีส์ถัดๆ ไปมากขึ้นนี้เอง จึงคิดว่า ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส น่าจะเป็น บรรพบุรุษของ มนุษย์ปัจจุบัน
ซากฟอสซิลอื่นที่พบ ใกล้เคียงกัน แสดงว่า ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส น่าจะอาศัยอยู่ บริเวณป่า หรือป่าริมแม่น้ำ

การค้นพบ ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส
(Australopithcus anamensis)

            
ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส เพิ่งประกาศตั้งชื่อ อย่างเป็นทางการ เมื่อ เดือน สิงหาคม 1995 แอนาม(Anam) หมายถึง ทะเลสาบ ในภาษาพื้นเมือง (ภาษา Turkana) เนื่องจากค้นพบใกล้ ทะเลสาบ Turkana ประเทศเคนย่า ทวีปแอฟริกา (site:Kanapoi and Allia bay)โดย Maeve Leakey

            
ซากฟอสซิลของ ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส มีเคลือบฟัน (enamel) หนากว่า และมีแขนขา ที่วิวัฒนาการสูงกว่า อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส แต่มีเขี้ยว ที่ยาวกว่า เมื่อเทียบกับ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (Australopithcus afarensis)

วัฒนาการของมนุษย์
สายพันธุ์แรกที่ถูกค้นพบ
ออสตราโลพิเธคคัส แอฟริกานัส (Australopithecus africanus)



                 
ฟอสซิลของออสตราโลพิเธคคัส แอฟริกานัส(Australopithecus africanus) นับเป็นหลักฐานชิ้นแรก ของการวิวัฒนาการ จากลิงใหญ่ มาเดิน 2ขาอย่างมนุษย์ ค้นพบเมื่อปี 1924 และเป็นที่มาของชื่อจีนัส ออสตราโลพิเธคคัส (Australopithecus)
ออสตราโลพิเธคคัส แอฟริกานัส มีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อ 2-3 ล้านปีก่อน มีรูปร่างคล้าย A.afarensis แต่มีขนาดใหญ่กว่า A.afarensis เล็กน้อย (เพศชายสูง 138 cm เพศหญิงสูง 115 cm) มีขนาดสมองเล็กเพียง 420-500 cc (สมองมนุษย์ปัจจุบัน มีขนาด 1400 cc) และยังไม่มีการเจริญของสมองในส่วนที่จำเป็น สำหรับการพูด  ฟันเขี้ยวมีขนาดเล็ก และฟันกรามมีขนาดใหญ่กว่าของ A.afarensis นั่นคือลักษณะของฟัน ใกล้เคียงกับ ของมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น จากลักษณะฐานกระโหลก กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกราน แสดงว่าสามารถเดิน 2ขาได้อย่างมนุษย์ปัจจุบัน อย่างไม่ต้องสงสัย
        

             ออสตราโลพิเธคคัส แอฟริกานัส ดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบทุ่งหญ้า จากการศึกษา ธาตุคาร์บอนในเคลือบฟัน พบว่า นอกจากจะกินอาหารประเภทผลไม้แล้ว ยังได้รับธาตุคาร์บอนมาจากหญ้าอีกด้วย แต่คงเป็นไปได้น้อยมาก ที่สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ จะกินหญ้าเป็นอาหาร ดังนั้นที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ ออสตราโลพิเธคคัส แอฟริกานัส คงกินเนื้อสัตว์กินหญ้าอีกด้วย
       

             ปัจจุบันยัง เป็นที่ถกเถียงกัน ว่าออสตราโลพิเธคคัส แอฟริกานัส เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์หรือไม่ บ้างเชื่อว่า เพียงแค่ดำรงชีวิตอยู่บนโลก ช่วงหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป บ้างเชื่อว่าวิวัฒนาการต่อไปเป็น ออสตราโลพิเธคคัส ประเภทที่รูปร่างแข็งแรง (A.robustus,A.bosei) แล้วก็สูญพันธุ์ไปทั้งหมด ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน


วิวัฒนาการของมนุษย์
สายพันธุ์มนุษย์ ที่เพิ่งค้นพบล่าสุด

ออสตราโลพิเธคคัส การี (Australopithecus garhi )


                             ออสตราโลพิเธคคัส การี(Australopithcus garhi) เป็นสายพันธุ์มนุษย์ ที่เพิ่งค้นพบล่าสุด มีชีวิตอยู่บนโลก เมื่อประมาณ 2ล้าน 5แสนปีก่อน เป็นบรรพบุรุษ ของมนุษย์ พวกแรก ที่เริ่มมีขายาวแบบมนุษย์ และเริ่มใช้ เครื่องมือทำจากหิน ตัดเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
             การที่ ออสตราโลพิเธคคัส การี มีสัดส่วนของขา ยาวขึ้นแบบมนุษย์ แต่ยังคงมี สัดส่วนของแขน ยาวแบบลิง ทำให้เราสันนิษฐานได้ว่า วิวัฒนาการในส่วนแขนและขา ของมนุษย์ น่าจะเป็นไปในอย่างน้อย 2ขั้นตอน คือ ขั้นตอนหนึ่ง เมื่อเริ่มเดิน 2ขา มีวิวัฒนาการของขา ยาวขึ้นแบบมนุษย์    ขั้นตอนถัดไป เมื่อลดการปีนป่ายตามต้นไม้ลง มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วน ของความยาวแขน
              เนื่องจากขุดพบ เครื่องมือหินเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ และฟอสซิล กระดูกสัตว์ถูกขูด และทุบด้วยเครื่องมือหิน ที่ชั้นหินอายุ 2ล้าน 5แสนปี ใกล้บริเวณ ที่พบฟอสซิล ของ ออสตราโลพิเธคคัส การี
              คาดว่าออสตราโลพิเธคคัส การี น่าจะเป็นพวกแรก ในสายวิวัฒนาการ ของมนุษย์ ที่สามารถใช้เครื่องมือหิน ทุบกระดูกสัตว์ เพื่อกินไขกระดูกภายใน นับเป็นหลักฐาน เก่าแก่ที่สุด แสดงถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม การกินของ บรรพบุรุษมนุษย์ เมื่อ 2 ล้าน 5 แสนปีก่อน      ไขกระดูกเป็นโปรตีน ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ช่วยให้สมอง พัฒนาและใหญ่ขึ้น จนสามารถ วิวัฒนาการเป็นบรรพบุรุษ ของมนุษย์ในยุคต่อๆมา
             ออสตราโลพิเธคคัส การี มีสมองเล็กเพียง 450 cc (สมองมนุษย์ปัจจุบัน มีขนาด 1400 cc) มีฟันที่ค่อนข้างใหญ่ โดยเฉพาะฟันกราม คาดว่าขนาดร่างกาย น่าจะใหญ่กว่า ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (คะเนจากขนาด ของกระโหลก ศีรษะ)     สิ่งแวดล้อมในบริเวณที่พบ ออสตราโลพิเธคคัส การี ในสมัยนั้น มีลักษณะเป็นขอบของทุ่งหญ้ากว้าง ริมทะเลสาบน้ำจืดตื้นๆ    เป็นไปได้ว่า ออสตราโลพิเธคคัส การี สืบเชื้อสายมาจาก ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (3-3.9 ล้านปีก่อน) และวิวัฒนาการต่อไปเป็น มนุษย์ ในจีนัสโฮโม
 
การค้นพบ ออสตราโลพิเธคคัส การี
(Australopithcus garhi)


                      
             ช่วงก่อนปี 1999 เราทราบเพียงว่า ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (A.afarensis สปีชีส์ของลูซี่ สูญพันธุ์ไปเมื่อ 3ล้านปีก่อน) วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ ในจีนัสโฮโม (ซึ่งเคยเชื่อว่าเป็นพวกแรก ที่รู้จักใช้เครื่องมือหิน)
ซากฟอสซิล ส่วนใหญ่ พบที่แอฟริกาตะวันออก ฟอสซิลของมนุษย์ ชิ้นที่มีอายุ 2-3 ล้านปีพบค่อนข้างน้อย ที่พบส่วนใหญ่ ก็ไม่สามารถ กำหนดอายุได้แน่ชัด และมักพบเฉพาะ ในบริเวณแอฟริกาใต้

             ในปี 1996 ทิม ดี. ไวท์ (Tim D. White) และทีมงาน (University of California at Berkeley) ขุดค้นอยู่ที่เอธิโอเปีย บริเวณแอฟริกา ตะวันออก ได้ค้นพบฟอสซิล กระดูกแขน และขา อายุ 2.5ล้านปี กระดูกต้นขายาวกว่าของ A.afarensis แสดงว่าสัดส่วนของขา เริ่มยาวออก ตั้งแต่กว่า 1ล้านปี ก่อนที่แขนจะสั้นลง จนเป็นสัดส่วนของแขนขา แบบมนุษย์ปัจจุบัน แต่เนื่องจาก ซากฟอสซิล ที่ไม่สมบูรณ์ เขาไม่สามารถจำแนก สปีชีส์ของมนุษย์ในยุคนั้นได้

             นอกจากนี้ เขายังพบ ฟอสซิลอายุ 2.5ล้านปี จากบริเวณใกล้เคียง เป็นกระดูกสัตว์มีรอยขูด ที่เกิดได้จาก เครื่องมือหินเท่านั้น และนักสำรวจ อีกชุด (the Royal Institute of Natural Science in Belgium) ได้พบเครื่องมือหินอายุ 2.5ล้านปี จากจุดที่ ห่างออกไปเล็กน้อย แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ใครเป็นผู้ที่ใช้ เครื่องมือหินเหล่านี้ แต่ก็เป็น หลักฐานเก่าแก่ที่สุด ว่ามีการใช้เครื่องมือ หินตั้งแต่ 2.5ล้านปีก่อน

             ต่อมาในปี 1997 Yohannes Haile-Selassie (University of California at Berkeley) พบฟอสซิล กระโหลกศีรษะอายุ 2.5ล้านปี จากพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากมันแตก เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และติดแน่น ด้วยคาร์บอเนต การทำความสะอาด ต้องใช้เวลานานหลายเดือน     Berhane Asfaw และทีมงาน ได้ศึกษาซากฟอสซิลอย่างละเอียด แล้วเขาก็พบสิ่งที่น่าประหลาดใจคือ ฟันของซากฟอสซิล โดยเฉพาะฟันกราม มีขนาดใหญ่กว่า ของA.afarensis แต่ใบหน้ายื่น และ ส่วนที่คลุมสมองเล็ก กว่ามนุษย์ในจีนัสโฮโม เป็นลักษณะผสม ที่ไม่เคยได้พบ ในมนุษย์สายพันธุ์ใด มาก่อน เขาเรียกชื่อสปีชีส์ใหม่นี้ว่า ออสตราโลพิเธคคัส การี (Australopithcus garhi) มาจาก garhi ในภาษาอฟาร์ แปลว่าประหลาดใจ (surprise) ประกาศลงในวารสาร Science ฉบับเดือนเมษายน ปี1999



วิวัฒนาการของมนุษย์
สายพันธุ์เก่าที่สุด

อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส (Ardipithecus ramidus)
 
             บรรพบุรุษของมนุษย์ เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิต จากการใช้ชีวิต ส่วนใหญ่บนต้นไม้ ลงมาเดิน 2 ขา ใช้ชีวิต ส่วนใหญ่ บนพื้นดินเมื่อไร และทำไม ยังเป็นที่ถกเถียงกัน ในปัจจุบัน คาดว่าช่วงเวลา น่าจะอยู่ประมาณ 5 ถึง 10 ล้านปีก่อน ช่วงเวลานั้นเอง ที่สายวิวัฒนาการ ของมนุษย์ (วงศ์โฮมินิดส์ - Hominids family) และ ลิงใหญ่(Ape) แยกออก จากกัน




             ซากฟอสซิลแสดงวิวัฒนาการของมนุษย์ เก่าแก่ที่สุด มีอายุประมาณ 4 ล้านสี่แสนปี มีชื่อสปีชีส์ ว่า อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส (Ardipithecus ramidus) จากหลักฐานทั้งหมดที่พบ อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส คงจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน กับมนุษย์ปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่มี ข้อสรุปที่แน่ชัด ว่า อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส เป็นบรรพบุรุษ ของมนุษย์ปัจจุบัน หรือไม่

             อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 4.4 ล้านปีก่อน มีความสูงประมาณ 122 cm ศีรษะของอาร์ดิพิเธคัส รามิดัส มีลักษณะคล้าย ลิงชิมแปนซี แต่ลักษณะฟัน ต่างออกไปเล็กน้อย ที่สำคัญคือ ฐานกระโหลก ที่พบ บอกเรา (indirect evidence) ว่า อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส น่าจะเดินตัวตรง 2 ขา ได้คล้ายมนุษย์ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการ ขั้นแรก จากลิงใหญ่ มาสู่มนุษย์   เศษฟอสซิล อื่นๆที่พบ ในบริเวณเดียวกัน บ่งบอกว่า อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส น่าจะอาศัยอยู่ในป่า ทำให้เกิดข้อ ถกเถียงกับ สมมติฐานเดิม ที่เชื่อถือกันมาก ว่า มนุษย์เริ่มเดินด้วย 2 ขา เมื่อมนุษย์ย้ายมาอาศัย อยู่ในพื้นที่แบบ ทุ่งหญ้า

การค้นพบ อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส
(Ardipithecus ramidus)



             อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส เพิ่งประกาศการค้นพบเมื่อปี 1994 ค้นพบใน ประเทศเอธิโอเปีย ทวีปแอฟริกา (site:Aramis) โดยทิม ดี. ไวท์ (Tim D. White) และ ลูกศิษย์อีก 2 คน เมื่อเขาทราบว่า ฟอสซิล ที่เขาค้นพบ มีลักษณะ ของโฮมินิดส์ เดินด้วย 2 ขา อยู่ในชั้นหินที่มีอายุถึง 4 ล้าน 3 แสน 9 หมื่นปี เขาคาดว่า นี่จะเป็น โฮมินิดส์ สายพันธุ์เก่าที่สุด เท่าที่เคยค้นพบ เขาประกาศลงใน วารสาร เนเจอร์ (Nature) ฉบับ กันยายน 1994 เรียก สปีชีส์ ที่ค้นพบใหม่ นี้ว่า ออสตราโลพิเธคคัส รามิดัส ( Australopithecus ramidus ) โดยในสมัยนั้น จีนัส (genus-สกุล) ของมนุษย์โบราณ ที่พบมี 2 จีนัสคือ ออสตราโลพิเธคคัส (Australopithecus) และโฮโม(Homo)

             ต่อมา หลังจากตรวจวิเคราะห์ซากฟอสซิล ที่เขาค้นพบอย่างละเอียด ในปี 1995 เขาประกาศ เปลี่ยนชื่อ จีนัส และสปีชีส์ ใหม่เป็น อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส (Ardipithecus ramidus) มาจากภาษาพื้นเมือง ในแอฟริกา (ภาษาอฟาร์-Afar) อาร์ดิ (Ardi) แปลว่าพื้น รามิด (Ramid) แปลว่าราก ส่วนพิเธคัส (Pithecus) หมายถึง เอป(Ape) หรือลิงใหญ่

             ซากฟอสซิลของ อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส ที่ค้นพบช่วงแรก มีเพียง 17 ชิ้น และไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะ ส่วนกระดูกเชิงกราน และขา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ในการอธิบายลักษณะการเดิน ปัจจุบันแม้ว่า ไวท์ จะพบซากฟอสซิล ของ อาร์ดิพิเธคัส รามิดัส เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เขายังคง ไม่เปิดเผยข้อมูล จนกว่าจะได้ศึกษามากพอ
 

วิวัฒนาการของมนุษย์
แนะนำให้รู้จัก...ลูซี่(Lucy)

ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (Australopithecus afarensis) 



             ลูซี่(Lucy)เป็น ซากฟอสซิล ของออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (Australopithecus afarensis) มีชีวิตอยู่ในช่วง 3-3.9 ล้านปีก่อน ซากฟอสซิล ของลูซี่ ที่สมบูรณ์เกือบ 40% ให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ บรรพบุรุษของมนุษย์ ในสมัยนั้น
             ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิสมีความสูงประมาณ 107-152 cm โดยเพศชาย มีขนาด ร่างกาย ใหญ่กว่าเพศหญิงมาก (sexual dimorphism ลักษณะแบบนี้ ยังพบได้ในกอริลล่า)   ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส มีช่วงแขนที่ยาว เกือบจะเท่ากับ ชิมแปนซี มีมือที่ ไม่สามารถกำได้แบบพวกเรา ฟอสซิลกระดูกเชิงกราน และเข่าที่พบ มีลักษณะ เหมือนมนุษย์ปัจจุบัน แสดงว่าสามารถเดิน 2 ขาได้
             มีการค้นพบ รอยเท้าเดิน 2 ขา แบบมนุษย์ ปรากฎอยู่บน หินภูเขาไฟ อายุ 3ล้าน 6 แสนปี ที่เลโตลิ (Laetoli) ประเทศแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษของมนุษย์ สามารถเดิน 2 ขาได้ เป็นเวลา อย่างน้อย 3ล้าน 6 แสนปี มาแล้ว จากช่วงอายุ เป็นไปได้มากว่า เป็นรอยเท้าของ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส
            
ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส มีขนาดสมอง พอๆกับลิงชิมแปนซี หน้าตาก็คล้ายๆชิมแปนซี ยกเว้นฟันที่ มีลักษณะ อยู่กึ่งกลาง ระหว่างชิมแปนซี กับมนุษย์ปัจจุบัน ลักษณะเขี้ยวที่สั้นคาดว่า อฟาร์เอนซิส อาจไม่จำเป็นต้องใช้ เขี้ยวต่อสู้กับเพศชายด้วยกัน เพื่อครองความเป็นใหญ่ ในฝูง (ยังคงพบได้ในกอริลล่า)



                






              คาดว่าออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส น่าจะสืบเชื้อสายมาจาก ออสตราโลพิเธคคัส แอนาเมนซิส และน่าจะเป็น บรรพบุรุษของ มนุษย์ สปีชีส์ถัดมาเกือบทั้งหมด
 

             ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส มีชีวิตอยู่ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง ของภูมิอากาศบนโลก สภาพพื้นที่ แห้งแล้งมากขึ้นเรื่อยๆ ผืนป่าลดลด กลายเป็นทุ่งหญ้า อาหารของลิงใหญ่ตามต้นไม้ในป่า เริ่มขาดแคลน ความสามารถเดิน 2 ขา ของ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส เป็นประโยชน์ ในการไปหากินตามทุ่งหญ้า และการย้ายจากป่าหนึ่ง ไปอีกป่าหนึ่ง ช่วงนี้เองที่คาดว่า ทำให้เกิด วิวัฒนาการของมนุษย์ ความสามารถในการเดิน 2 ขา มือที่ว่างสามารถหยิบจับ อาหาร และการใช้เครื่องมือ มีการพัฒนาการของสมอง สามารถวิวัฒนาการเข้าสู่ ความเป็นมนุษย์ ในที่สุด แต่คงไม่สามารถ เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ในช่วงเวลาสั้นๆ ในช่วงชีวิตของ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส

การค้นพบ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส 
(Australopithcus afarensis)
             
             ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (Australopithcus afarensis) ค้นพบโดย โดนัลด์ โจฮานสัน (Donald Johanson) และผู้ร่วมงาน ที่ประเทศเอธิโอเปีย ทวีปแอฟริกา (site:Hardar) เมื่อปี 1974 ช่วงเวลาประมาณ 20 ปี หลังจากนั้น ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส ก็เป็นสปีชีส์ เก่าแก่ที่สุดของ บรรพบุรุษของมนุษย์ ที่เรารู้จัก (จนกระทั่งมีการค้นพบ A.anamensis และ A.ramidus ซึ่งเก่าแก่ยิ่งกว่า)

             ในช่วงปี' 70s มีการตามหาซากฟอสซิล ที่แสดงรอยต่อ ของวิวัฒนาการ จากลิงใหญ่ มาสู่มนุษย์ โดยคาดว่าน่าจะเกิดขึ้น ที่ทวีปแอฟริกา ทีมงานของโดนัลด์ โจฮานสัน ซึ่งขุดค้นอยู่ที่ ฮาร์ดาร์ ในเดือนตุลาคม ปี1974 ได้ค้นพบฟอสซิล ที่สมบูรณ์ถึง 40% มีลักษณะรูปร่างแบบลิงใหญ่ แต่พบกระดูกเชิงกราน และเข่า ซึ่งแสดงถึง ความสามารถ เดิน 2 ขา ได้อย่างมนุษย์ปัจจุบัน เขาตั้งชื่อซากฟอสซิลนั้นว่า ลูซี่ (Lucy) มาจากเพลง Lucy in the sky with daimonds ของ The Beatles ซึ่งเปิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในค่ายพักช่วงนั้น เขาเรียกชื่อสปีชีส์ ว่า ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส (Australopithcus afarensis) จึงนับเป็นการเริ่ม บทใหม่ที่สำคัญ ในการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์
           

             ฟอสซอลของลูซี่ บริเวณใบหน้าขาดหายไป และซากฟอสซิลของ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส ที่พบก็มีขนาดโครงร่างที่แตกต่างกัน บ้างใหญ่บ้างเล็ก มีหลายคนถกเถียงกันว่า น่าจะเป็นฟอสซิล ของอย่างน้อย 2 สปีชีส์ หรือเป็นขนาด ที่แตกต่างกัน ระหว่างเพศชาย และหญิง
           

             ดังนั้นงานต่อไปของ โดนัลด์ โจฮานสัน ก็คือต้องหา ฟอสซิล กระโหลกศรีษะ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ของ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส อันจะเป็นส่วนสำคัญที่บอก รายละเอียดของสปีชีส์ เขาทำได้สำเร็จในปี 1992 ทำให้เราทราบ ลักษณะใบหน้าของ ออสตราโลพิเธคคัส อฟาร์เอนซิส และฟอสซิลกระโหลก ของ ทั้ง 2 เพศที่มีขนาดโครงร่าง ชายใหญ่กว่าหญิง ก็บอกถึงลักษณะ Sexual Dimorphism ซึ่งพบได้ใน ลิงใหญ่ และ บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคแรกๆ


สรุปเปรียบเทียบระดับ ขนาดสมองและเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ชนิดต่าง ๆ


Australopithecus
ระดับ : ลิงวานรที่คล้ายลิงและคล้ายมนุษย์(prehuman)

ขนาดของสมอง : 450-700 ลบ.ซม.

เครื่องมือที่ใช้ : เป็นวัสดุต่าง ๆ ในธรรมชาติ



Homo habilis
ระดับ : บรรพบุรุษมนุษย์ (ancestral man)

ขนาดของสมอง : 680-800 ลบ.ซม.

เครื่องมือที่ใช้ : ประดิษฐ์เครื่องมือหินกระเทาะ เป็นที่เชื่อว่าบรรพบุรุษมนุษย์อาจใช้ไม้ กระดูก หรือเขาสัตว์เป็นเครื่องมือนอกจากหินกระเทาะด้วย



Homo erectus
ระดับ : มนุษย์แรกเริ่ม (early man)

ขนาดของสมอง : 750-1,200 ลบ.ซม.

เครื่องมือที่ใช้ : ใช้ขวานหินไม่มีด้ามในยุคหินเก่าอยู่ในถ้ำและรู้จักใช้ไฟ



H.s.neanderthalensis
ระดับ : มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal man)

ขนาดของสมอง : 1,450 ลบ.ซม.

เครื่องมือที่ใช้ : ใช้หินเหล็กไฟ ทำขวานหิน และมีด้าม ในยุคกลางหินเก่า
 

H.s.sapiens
ระดับ : มนุษย์ปัจจุบันโครมันยอง (Cro-Magnon man)
ขนาดของสมอง : 1,350-1,500 ลบ.ซม.


เครื่องมือที่ใช้ : รู้จักใช้เครื่องมือ ทำด้วยกระดูก ในยุคปลายหินเก่า และประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ขึ้นในยุคหินกลางและยุคหินใหม่ เช่น มีด ขวาน ค้อน จอบ ฯลฯ



 

วิวัฒนาการของมนุษย์

           70 ล้านปีแห่งห้วงเวลาของการกำเนิดวิวัฒนาการของมนุษย์ จากสายพันธุ์ซึ่งเคยเป็นลิงไม่มีหาง เดินหลังค่อม มีขนเต็มตัว ค่อยๆพัฒนามาเป็นการเดินลำตัวตรง ขนตามตัวลดน้อยลง มีมันสมองใหญ่ขึ้น โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาตามลำดับ

             โปรคอนซูล เป็นลิงไม่มีหาง หนึ่งในสายพันธุ์ของมนุษย์ อาศัยอยู่ในบริเวณแอฟริกาตะวันออก เมื่อประมาณ 20-25 ล้านปีมาแล้ว มีมันสมองขนาดเล็ก แต่สามารถยืน ลำตัวตั้งตรงได้แล้ว

               ออสตราโลพิธีคัส เป็นสายพันธุ์บรรพบุรุษมนุย์ ที่พัฒนาขึ้นจนสามารถวิ่งลำตัวตั้งตรงได้ ขนตามลำตัวน้อยลง มีความคล้ายคลึงมนุษย์ในปัจจุบันมาก สามารถผลิตเครื่องมือที่ทำจากหิน ในการล่าสัตว์ได้แล้ว มีอายุอยู่ระหว่าง 5 ล้านถึง 2 ล้านปีมาแล้ว

     โฮโมอีเร็คตัส (มนุษย์ชวา ทางซ้าย) เคยอาศัยอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอัฟริกาตะวันออก เมื่อ 1.5 ล้านปีมาแล้ว มีความเป็นมนุษย์เต็มตัวแล้ว ใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ในปัจจุบันและโฮโม แซเปียนส์ (ทางขวา) เคยอาศัยอยู่ในยุโรป และตะวันออกกลาง มีอายุเมื่อ 250,000 ปีมาแล้ว

  

                โฮโมแซเปียนส์ สายพันธุ์บรรพบุรุษมนุษย์ ในยุโรปและตะวันออกกลาง มีอายุเมื่อ 250,000 ปีมาแล้ว มีการพัฒนาทางร่างกาย ใกล้เคียงมนุษย์ปัจจุบัน สามารถยืนตัวตรงได้ ยังชีพด้วยการล่าสัตว์เป็นอาหาร โดยใช้อาวุธที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้น

                  มนุษย์ปักกิ่ง อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อประมาณ 3-4 แสนปีมาแล้ว เริ่มรู้จักจุดไฟใช้เองได้ นิยมล่ากวาง โดยใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น